Bitget App
เทรดอย่างชาญฉลาดกว่าที่เคย
ซื้อคริปโตตลาดเทรดFuturesCopyบอทเทรดEarn
บล็อกเชน
บล็อกเชน 101: ข้อมูลพื้นฐาน

บล็อกเชน 101: ข้อมูลพื้นฐาน

มือใหม่
2024-01-11 | 5m

เราทุกคนเคยได้ยินเกี่ยวกับบล็อกเชนกันมาแล้ว แต่คำถามคือจะสามารถนำไปใช้งานในโลกความเป็นจริงได้อย่างไรบ้าง มีวิธีการทำงานอย่างไรกันแน่ จะช่วยแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง บทความนี้จะให้คำอธิบายที่ง่ายและครอบคลุมเกี่ยวกับแง่มุมพื้นฐานต่างๆ ของเทคโนโลยีบล็อกเชน

บล็อกเชนคืออะไร

บล็อกเชนเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่ใช้ร่วมกันระหว่าง Node ต่างๆ ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยทำให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้รับฉบับสำเนาของข้อมูล เป็นเหมือนสายโซ่ของบล็อกต่างๆ ที่มีข้อมูล ในฐานะฐานข้อมูล บล็อกเชนจัดเก็บข้อมูลไว้ทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งเมื่อได้รับข้อมูลใหม่ ข้อมูลใหม่นั้นก็จะถูกบันทึกลงในบล็อกใหม่ เมื่อบล็อกนั้นมีข้อมูลเต็มแล้ว ก็จะโยงเข้ากับบล็อกก่อนหน้า ซึ่งทำให้ข้อมูลถูกโยงเข้าด้วยกันตามลำดับเวลา

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีลักษณะเฉพาะด้วยฟีเจอร์ “ป้องกันการเปลี่ยนแปลงแก้ไข” ที่เข้มงวด เมื่อประวัติธุรกรรมหลายรายการถูกบรรจุลงในบล็อกและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นสายโซ่ ก็จะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมี Node ใดมาแก้ไขข้อมูลนั้นได้ ประวัตินี้เปิดกว้างสำหรับทุกคนอย่างสมบูรณ์ โดยรับประกันความโปร่งใสและความปลอดภัย

นอกจากนี้ การกระจายศูนย์ยังเป็นฟีเจอร์หลักของบล็อกเชน ซึ่งต่างจากสถาบันการเงินและรัฐบาลสมัยใหม่ตรงที่ข้อมูลบนเครือข่ายบล็อกเชนนั้นไม่ได้ถูกควบคุมโดยหน่วยงานส่วนกลางใดๆ เช่น Bitcoin ถูกกำหนดไว้ให้มีจำนวน 21 ล้านเหรียญ ซึ่งแตกต่างจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่ควบคุมโดย FED

บล็อกเชนทำงานอย่างไร

ในเทคโนโลยีบล็อกเชน แต่ละบล็อกประกอบด้วยข้อมูล, Hash ของข้อมูล และ Hash ของบล็อกก่อนหน้า เช่น ในบล็อก Bitcoin เราอาจเห็นรายละเอียดของธุรกรรมเป็นข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ส่ง ผู้รับ และจำนวนเหรียญ

Hash ทำหน้าที่เป็นลายนิ้วมือสำหรับบล็อก ทำให้มั่นใจได้ว่าแต่ละบล็อกระบุได้ด้วย Hash ที่ไม่ซ้ำกันและทำซ้ำไม่ได้ หากมีใครพยายามไปแก้ไขข้อมูลภายในบล็อก ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน Hash ของบล็อก ซึ่งจะทำให้ตัวบล็อกไม่เหมือนเดิมกับตัวต้นฉบับอีกต่อไป

เนื่องจากแต่ละบล็อกมี Hash ของบล็อกก่อนหน้าบรรจุไว้อยู่ การแก้ไขข้อมูลใดๆ ภายในบล็อกก็จะเป็นการไปเปลี่ยนแปลง Hash ของบล็อกนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น สิ่งนี้จะทำให้บล็อกที่ตามมามีลักษณะที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากไม่มี Hash ที่ถูกต้องของบล็อกก่อนหน้าบรรจุไว้อยู่อีกต่อไป และเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับบล็อกเชนและป้องกันการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากการไปปรับและคำนวณ Hash ของทั้ง Chain ใหม่ เทคโนโลยีบล็อกเชนจึงมีรูปแบบกระจายศูนย์ โดยใช้เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ ไม่ได้มีหน่วยงานส่วนกลางใดๆ ทำหน้าที่ดูแล Chain โดยเฉพาะ

เมื่อมีการสร้างบล็อกใหม่ขึ้น บล็อกนั้นจะถูกส่งไปยังทุกคนบนเครือข่าย แล้วแต่ละ Node จะตรวจสอบยืนยันบล็อก หากจะปรับอะไรเพียงเล็กๆ น้อยๆ เอง ก็จำเป็นต้องเข้าไปควบคุมเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้มากกว่า 50% ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนมหาศาลทั้งในแง่ของแรงและเวลา

บล็อกเชน: ข้อดีและข้อเสีย

เมื่อเข้าใจถึงวิธีการทำงานของบล็อกเชนแล้ว ก็จะเห็นข้อดีของเทคโนโลยีนี้ได้ชัดเจนขึ้น บล็อกเชนมาพร้อมทั้งความปลอดภัยและความโปร่งใส

เนื่องจากบล็อกเชนไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานทางการเงินหรือรัฐบาลใดๆ ทุกคนจึงเข้าถึงข้อมูลบน Chain ได้ ทุกคนในเครือข่ายบล็อกเชนมีส่วนช่วยในการรักษาความปลอดภัยให้กับธุรกรรมและการเปลี่ยนแปลงข้อมูล

หากผู้ใดตั้งใจจะเข้ามาแก้ไขข้อมูลใดๆ ภายในบล็อกเชน เปลี่ยนแปลงบล็อกใดๆ หรือทำการปรับเปลี่ยนแม้เพียงเล็กน้อย ผู้นั้นก็จะต้องปรับแก้ทุกบล็อกในทั้ง Chain รวมถึงทำซ้ำ Proof of Work และเข้าควบคุมมากกว่า 50% ของเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer ซึ่งต้องลงแรงและเวลาอย่างมหาศาล

เช่น สามารถสร้าง Smart Contract เพื่อให้ทำงานเหมือนกับสัญญาทั่วไปในโลกความเป็นจริงได้ ทั้งนี้ Smart Contract มีลักษณะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ฝังอยู่ภายในบล็อกเชน

เนื่องจาก Smart Contract มีรูปแบบกระจายศูนย์และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ ดังนั้นเมื่อมีการสร้าง Smart Contract ขึ้นมาแล้ว ก็จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นการปกป้องความปลอดภัยและความโปร่งใสของ Smart Contract

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมีข้อเสียบางประการอยู่ด้วยเช่นกัน ธุรกรรมบนบล็อกเชนนั้นไม่สามารถย้อนกลับได้ หากคุณทำผิดพลาดระหว่างการทำธุรกรรม เช่น ส่งเหรียญผิดจำนวน หรือโอนสินทรัพย์ไปยังผู้รับผิดคน ธุรกรรมที่ทำนี้จะไม่สามารถย้อนกลับได้ ซึ่งอาจเป็นผลเสียได้

เพื่อปกป้องสิทธิ์ของคุณในการทำธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซี จึงขอแนะนำให้เลือกใช้แพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงซึ่งให้ความปลอดภัยในการลงทุนของคุณ Bitget ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โดยเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตชั้นนำระดับโลกที่รองรับการเทรด Spot, Futures และ Copy Trading เราภูมิใจให้บริการฐานผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 20 ล้านคนทั่วโลก

เราให้บริการด้านข้อมูลการเทรดคริปโตอันล้ำค่าอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับนักลงทุนคริปโต พร้อมยกระดับประสบการณ์การเทรดและคุณภาพชีวิตโดยรวม

เข้าร่วมชุมชน Bitget เลย คุณจะได้เชื่อมต่อกับฐานผู้ใช้อันกว้างขวางของเราที่มีผู้ใช้มากกว่า 20 ล้านคนจากทั่วโลก!

บล็อกเชนสาธารณะ เทียบกับ บล็อกเชนส่วนตัว

บล็อกเชนมีอยู่ด้วยกัน 2 หมวดหมู่หลักที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ บล็อกเชนสาธารณะและบล็อกเชนส่วนตัว

บล็อกเชนสาธารณะนั้นเปิดกว้างและโปร่งใส เปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้ บุคคลหรือสถาบันใดๆ สามารถเริ่มต้นทำธุรกรรมบน Public Chain ได้ตลอดเวลา แล้วแต่ละ Node จะตรวจสอบยืนยันบล็อก โดยทั่วไปแล้วบล็อกเชนสาธารณะเป็นบล็อกเชนประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด บล็อกเชน Bitcoin เป็นตัวอย่างของบล็อกเชนสาธารณะ

ในทางตรงกันข้ามกับบล็อกเชนสาธารณะ บล็อกเชนส่วนตัวจำกัดไม่ให้ผู้คนทั่วไปเข้าถึงได้โดยสิ้นเชิง โดยมีการรวมศูนย์สิทธิ์ในการยืนยันไว้โดยเทคโนโลยีบล็อกเชน ไม่ได้เปิดกว้างและโปร่งใส วัตถุประสงค์หลักของบล็อกเชนส่วนตัวคือเพื่อลงบันทึกข้อมูลบัญชีและธุรกรรมส่วนตัวที่บริษัทหรือบุคคลใช้ ข้อมูลส่วนใหญ่ในบล็อกเชนส่วนตัวจึงเป็นความลับ

บล็อกเชน 101: ข้อมูลพื้นฐาน image 0

บล็อกเชน 101: ข้อมูลพื้นฐาน image 1

แชร์
link_icon
หากยังไม่ได้เป็น Bitgetterสมัครเพื่อเริ่มต้นเส้นทางสู่โลกคริปโตเลย!
สมัครเลย
ทุกเหรียญโปรดของคุณ เรามีให้ครบครัน!
ซื้อ ถือ และขายคริปโทเคอร์เรนซียอดนิยม เช่น BTC, ETH, SOL, DOGE, SHIB, PEPE และอีกเพียบ ลงทะเบียนและเทรดเพื่อรับเซ็ตของขวัญสำหรับผู้ใช้ใหม่มูลค่า 6,200 USDT!
เทรดเลย